หุ่นยนต์ นรา 1-2 กู้ระเบิดช่วยชาติ งานวิจัยต่อยอดของมทร.ล้านนา ตาก เข้าถึงทุกซอกมุมแถมลากและยกรถจักรยานยนต์ได้สบาย กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : สนามยิงปืนจังหวัดทหารบกตาก ในวันนี้คึกคักด้วยทีมงานจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก (มทร.ล้านนา ตาก) ที่นำผลงานสิ่งประดิษฐ์ หุ่นยนต์เก็บกู้ทำลายระเบิดชื่อ นรา1-นรา 2 มาทดสอบประสิทธิภาพ หุ่นยนต์นี้พัฒนาต่อยอดมาจากโครงการวิจัยหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
นักศึกษาเจ้าของผลงานคือ นายจักรพันธ์ ชูศักดิ์ นายวัชระ สะหาชาติ นายสถาพร ยอดปานันท์ และน.ส.จุฑารัตน์ โยชุ่ม นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า คาดหวังว่าหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้น จะช่วยลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตของตำรวจและทหารที่ปฏิบัติงานตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ เก็บกู้ ทำลายวัตถุอันตราย ระเบิดและสิ่งของต้องสงสัยในพื้นที่ได้ตามความคาดหมาย สะดวก รวดเร็วและปลอดภัยมากที่สุด
การทดสอบนี้มีเจ้าหน้าที่ชุด EOD เก็บกู้วัตถุระเบิดจาก ตำรวจ ตชด.ที่ 34 ค่ายพระเจ้าตาก นปภ.ตาก และตำรวจกองวิทยาการจังหวัดตาก ร่วมทดสอบปฏิบัติจริง ซึ่งก็ได้ผลเป็นไปตามความคาดหมาย
หุ่นต้นแบบทั้งสองมีลักษณะคล้ายรถแบ็คโฮ ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบตีนตะขาบที่ทำด้วยแผ่นเหล็กอะลูมิเนียมกันความร้อนและโซ่ยนต์ รวมถึงแขนกลที่ติดตั้งอยู่ส่วนบนของตัวหุ่น ซึ่งถูกยึดด้วยปืนแรงดันสูง และกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
น.ส.จุฑารัตน์ กล่าวว่า หุ่นยนต์นี้ควบคุมด้วยรีโมทไร้สายในระยะไกลเกือบ 2 กม. มีความสามารถค่อนข้างจะอเนกประสงค์ สามารถปีนขึ้นบันไดที่มีความกว้าง 1- 2 เมตร หรือทางเท้า เดินผ่านกองดิน กองทรายและน้ำท่วมขังระดับความสูงประมาณ 20 ซม. นอกจากนี้ยังชักลากรถเก๋งที่ใส่เกียร์ว่าง หรือจักรยานยนต์ที่ล้มจากอุบัติเหตุได้ หรือแม้แต่ซากศพออกมาจากสถานที่เกิดเหตุ โดยไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบก่อน
หุ่นมีมือกลที่จับสิ่งของได้หลายรูปทรง ที่มีขนาดความกว้างไม่เกิน 12 นิ้ว แม้แต่ลูกมะพร้าวก็ยังจับต้องได้และยังสามารถแบกรับน้ำหนักหรือยกสิ่งของได้มากถึง 80 กก.
โครงการพัฒนาหุ่นยนต์ข้างต้น ได้รับงบประมาณจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สร้างทั้งหมด 4 ตัว โดยหุ่นยนต์ นรา 1 , 2 แตกต่างจากหุ่น 2 ตัวแรก ที่มีขาหน้าขาหลังที่แข็งแรง เป็นฐานรากในการยกของหนักได้ และทำลายวัตถุต้องสงสัยด้วยกระสุนปืนแรงดันน้ำ ที่มองผ่านกล้องโทรทัศน์วงจรปิด
ส่วนกระสุนปืนที่ใช้ในการยิง ได้รับการสนับสนุนจากโรงงานวัตถุระเบิดของกรมสรรพวุธทหาร สามารถยิงเจาะเหล็กหนา 2 นิ้ว ประโยชน์ใช้งานคล้ายกับหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีราคาประมาณ 15 ล้านบาท ขณะที่หุ่นยนต์ต้นแบบมีต้นทุน 1.5 แสนบาทต่อตัว ขณะนี้พร้อมแล้วที่จะส่งไปใช้เจ้าหน้าที่ฝึกใช้งาน และลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริง
ปัญหาที่เกิดขึ้น
๑.แต่ปัญหาของตัวนี้อยู่ที่น้ำหนักของมัน และมิติที่จะต้องบรรทุกท้ายรถกระบะ ที่ภายในต้องมีอุปกรณ์การทำลายบางอย่างอยู่แล้ว
ปัญหาที่เกิดขึ้น
๑.แต่ปัญหาของตัวนี้อยู่ที่น้ำหนักของมัน และมิติที่จะต้องบรรทุกท้ายรถกระบะ ที่ภายในต้องมีอุปกรณ์การทำลายบางอย่างอยู่แล้ว
๒.ย่านความถี่ในการควบคุม ไม่แน่นใจว่าทดสอบกับการเก็บกู้วตถุระเบิดที่มีระบบการจุดระบิดที่ใช้ย่านความถี่ของ RC หรือไม่ครับ ลอทดสอบดูครับ อันนี้ไม่แน่นใจ
ต้องลองไปใช้ที่ภาคใต้ ดูครับ จึงจะทราบปัญหาจริงๆ
หลายตัวที่ทำไปลงใต้ บางตัวก็ไม่สามารถใช้การได้ครับ แต่คงไม่อยากทำให้เสียกำลังใจ กอ.รมน.ภาค ๔ ยินดีต้อนรับแน่นอนครับ
ต้องลองไปใช้ที่ภาคใต้ ดูครับ จึงจะทราบปัญหาจริงๆ
หลายตัวที่ทำไปลงใต้ บางตัวก็ไม่สามารถใช้การได้ครับ แต่คงไม่อยากทำให้เสียกำลังใจ กอ.รมน.ภาค ๔ ยินดีต้อนรับแน่นอนครับ
ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น